พิมพ์
รายละเอียด: หมวด: ประกาศหอพัก | เผยแพร่เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2559 | ฮิต: 25354

อาจารย์พิกุล บุญประเสริฐ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต,๒๕๕๑

ในอดีตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีลักษณะเป็นทุ่งนาห่างไกลจากบ้านเมือง สภาพเเวดล้อม โดยรอบยังเป็นทุ่งนา ซึ่งมีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า "ทุ่งบางเขน" นิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทุกคนต้องอยู่หอพัก เพราะมหาวิทยาลัยอยู่ไกล การเข้าถึงนั้นลำบาก เเละนิสิตต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับพืชเเละสัตว์เป็นจำนวนมาก การพักอาศัยอยู่ในมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงจัดสร้างหอพักเพื่อเป็นสวัสดิการให้เเก่นิสิต เพื่ออำนวยความสะดวก ให้เเก่นิสิตพระพิรุณรับน้อง (๒๕๒๔ - ๒๕๒๕) หอพักนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในสมัยนั้นถือว่าเป็นการศึกษาให้เปล่า คือนักศึกษาไม่ต้องชำระค่าเล่าเรียน เเละค่าหอพัก เเต่ต้องจ่ายค่าอาหารเดือนละ ๑๕ บาท (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๓๗ : ๑๙ ) มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักเรียงตามเเถวถนน หอ ๑ จรดสายเมน ประตู ๑ ถึงโรงสูบ ลักษณะเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น มีมุขยื่นออกมา ชั้นบนเป็นหอนอน ชั้นล่าเป็นตู้เก็บเสื้อผ้า โต๊ะทำงานเเละสิ่งอำนวยความสะดวกอีกตามสมควร สำหรับห้องสุขาใช้รวมกัน ด้านหลังเป็นโรงอาหารเเละโรงครัว นิสิตทุกคนต้องมารับประทานอาหารทุกมื้อ ต่อมามหาวิทยาลัยมีโครงการเพิ่มคณะวิชา เเละรับนิสิตเข้าศึกษาเพิ่มขึ้น จึงได้สร้างหอพักเพิ่มขึ้น ๙ หลัง ๑๕ หลัง เเละ ๒๓ หลัง ตามลำดับ

ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๖ - ๒๔๙๒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีนิสิตเป็นชายล้วน จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๓ จึงมีนิสิตหญิงเข้ามาศึกษาเป็นรุ่นเเรก หอพักหญิงในช่วงเเรกๆ มีหอพัก ๑๐ ก. เเละหอพัก ๑๐ ข. โดยที่หอพัก ๑๐ ก. เป็นหอพักหญิง ๒ ชั้น ซึ่งมีมาก่อนหอพักหญิง ๑๐ ข. ซึ่งดัดเเปลงมาจาก บ้านพักอาจารย์ มีชั้นเดียว หอพักหญิง อยู่ตรงข้าม กับเรือนเเถวข้าราชการชั้นจัตวา ซึ่งเเต่ละหอพักมีอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เตียงชั้นเดียว โต๊ะ ตู้ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนห้องน้ำเป็นลักษณะห้องน้ำรวมอยู่ทางเเต่ละปีกของอาคาร ซึ่งมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยดูเเลนิสิต หอพักหญิงในสมัยก่อนไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันนี้ เเต่อยู่ใกล้ๆ กัน คือบริเวณที่ตั้งของสำนักพิพิธภัณฑ์เเละ วัฒนธรรมการเกษตร ซึ่งอยู่ภายใต้การดูเเลของหน่วยหอพัก ซึ่งสมัยก่อนเป็นหน่วยงานเล็กๆ ที่ทำการอยู่ที่ตึกสัตวบาล (สหกรณ์ร้านค้า มก. ในปัจจุบัน) ซึ่งบริเวณโดยรอบของหอพักหญิงติดกับฟาร์มเลี้ยงไก่เเละบ่อปลา ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยมีจำนวนนิสิตเพิ่มมากขึ้น จึงได้สร้างหอพักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนี้ ตึกพักหญิงบุษกร ต่อมาสร้างหอพักหญิงราชาวดี ขจีนุช พุทธรักษา มหาหงส์ ชงโค เเละตึกพักหญิงชวนชม ตึกพักชายที่ ๑๒, ๑๓, ๑๔ เเละสุดท้ายตึกพักชายที่ ๑๕ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สร้างเป็นหอพักหญิง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูกหรือเเปลงทดลองทางการเกษตร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ มหาวิทยาลัยได้ตั้งองค์การนิสิตขึ้นเป็นครั้งเเรก เก็บค่าหอพัก๖๐ บาท พ.ศ. ๒๔๙๙ นิสิตจะต้องชำระค่าธรรมเนียมหอพักปีละ ๓๐๐ บาท ค่าธรรมเนียมหอพักได้เพิ่มขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. ๒๕๒๑ ค่าธรรมเนียมได้เพิ่มขึ้นเป็นภาคการศึกษาละ ๕๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งเป็นปีเเรกที่มีการนำน้ำประปามาใช้ในหอพักเเทนการใช้น้ำบาดาล ในปัจจุบันเสียค่าธรรมเนียมภาคการศึกษาละ ๒,๐๐๐ บาท ซึ่งเปลี่ยนเเปลงมาจาก ๗๕๐ บาท ในปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๘